Knowledge-based Management System

ค้นหาอย่างรวดเร็วและจัดเก็บ คลังความรู้องค์กร อย่างเป็นระบบ

ระบบเก็บรวบรวมข้อมูลขององค์กรหรือเรียกได้ว่าเป็นระบบระบบการจัดการความรู้ เช่น ข้อมูลสินค้า การบริการ ข้อมูลองค์กร ไฟล์รูปภาพต่างๆไว้เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่ให้บริการสามารถค้นหาและเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก รวดเร็ว แม่นยำ  โดยเป็นแหล่งที่เก็บและรับความรู้เพื่อปรับปรุงความเข้าใจการทำงานร่วมกันและการจัดกระบวนการ โดยเป็นระบบการจัดการความรู้สามารถมีอยู่ภายในองค์กรหรือทีม แต่ยังสามารถใช้เพื่อจัดฐานความรู้ขององค์กรให้กับผู้ใช้หรือลูกค้าขององค์กรได้อีกด้วย  

โดยความสำคัญของระบบ Knowledge-based Management หรือระบบการจัดการความรู้นั้นจะถูกสามารถถูกจำกัดให้แคบลงเพื่อวัตถุประสงค์หลักในการช่วยให้ User ใช้ความรู้เพื่อให้งานดีขึ้น เพราะสิ่งเหล่านี้คือสร้างความสำเร็จกับลูกค้าในเชิงรุกมากขึ้น เพราะ User สามารถตอบคำถามของลูกค้าแบบ Realtime และทันท่วงที  

ระบบสามารถรองรับการบริหารจัดการข้อมูลองค์ความรู้พื้นฐานขององค์กร (Knowledge-based Management Module) เช่น ข้อมูลสินค้า ข้อมูลการบริการ ข้อมูลองค์กร ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการสามารถค้นหาและเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก รวดเร็ว และแม่นยาถูกต้องต้องยิ่งขึ้น เนื่องจากการจัดเก็บข้อมูลเป็นแบบศูนย์กลาง หากมีการแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนข้อมูลจะทาให้เจ้าหน้าที่ทุกคนเข้าถึงข้อมูลเดียวกัน

นอกจากนี้ระบบสามารถกาหนดสิทธิ์ในการแก้ไขข้อมูลใน Knowledge-based Center ได้ พร้อมทั้งสามารถทาการจัดกลุ่ม Category ของข้อมูลได้ ในกรณีที่มีการเพิ่มข้อมูลใน Knowledge-based จะมีการแจ้งเตือน (Alert) ไปยัง agent โดยอัตโนมัติ สามารถตั้งค่าข้อมูลที่ใช้บ่อยเป็น favorite เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา รวมทั้งยังสามารถเก็บสถิติในการค้นหาได้อีกด้วย

  • List view Knowledge จะมีทั้งหมด 5 ตาราง ได้แก่ Popular (FAQ), Important, All Knowledge, Group Contents, Historical (โดยส่วนมากตารางนี้จะแสดงให้ Admin เห็นเท่านั้น)  โดยตาราง Popular (FAQ) จะแสดงข้อมูลที่มี View สูงที่สุดไปหาน้อยที่สุด และยังสามารถค้นหาบทความในตารางPopular (FAQ) ได้โดยไปที่ช่องด้านขวาบนของตารางโดยสามารถค้นหาข้อมูล Subject และ Create By ได้เป็นต้น  
  • ตาราง Important จะแสดงบทความที่สำคัญเท่านั้น อาทิเช่น
    1. No. ลำดับบทความ
    2. Subject ชื่อเรื่องของบทความ
    3. View จำนวนผู้เข้าชมบทความ
    4. Create Date วันที่ในการสร้างบทความ
    5. Create By ผู้สร้างบทความ
    6. แก้ไขบทความ
    7. ลบบทความ
  • Slide Bar จะแสดงรูปจากบทความในตาราง Important และสามารถคลิกจากรูปเพื่อเข้าดูบทความได้
  • ตาราง All Knowledge จะแสดงบทความทุกบทความโดยเรียงจาก Create Date ล่าสุด
  • ตาราง Group Content จะแสดงข้อมูลกลุ่มของบทความ อาทิเช่น
    • No. ลำดับกลุ่มบทความ
    • Subject ชื่อกลุ่มของบทความ
    • แก้ไขชื่อกลุ่มบทความ
    • ลบกลุ่มบทความ
    • สร้าง Content
    • สร้าง Group Content
  • ตาราง Historical จะแสดงบทความทุกบทความที่ expire โดย ตารางนี้มักจะแสดงให้เฉพาะ Admin เท่านั้นเพื่อที่สามารถนำบทความที่ expire ไปแล้วกลับมาแสดงใหม่ได้

นอกจากหัวข้อในด้านบนแล้ว ยังมีเรื่องของการ Create Content/Edit Content หรือแม้กระทั่งการ Create Group Content ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการให้ User เข้าไป เพิ่ม ลด Content ได้เองได้ในทันที  

ตามที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ยังมี Feature อีกหลายอย่างที่ลูกค้าแต่ละรายต้องการไม่เหมือนกันซึ่งเป็นเรื่องปกติของแต่ละธุรกิจ ทางเราบริษัท UC Connect เข้าใจถึงปัญหาของระบบที่มีอยู่ในท้องตลาดปัจจุบันที่อาจจะไม่สามารถ Customize ได้ตามความต้องการของลูกค้าแบบ 100% โดยเราเล็งเห็นความสำคัญเหล่านี้ ทางเราจึงรับทำระบบ Knowledge-based Management ตาม Requirement ของลูกค้าเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้งาน   
เราออกแบบระบบ KM (KNOWLEDGE-BASED) บนพื้นฐานของความเร็ว และความครบถ้วน จากกรณีศึกษาต่างๆด้านธุรกิจต่างนำมาสู่ แนวทางการสร้างระบบคลังข้อมูลที่มีคุณภาพสูงสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก และตอบโจทย์ธุรกิจในระยะยาว เพื่อให้องค์กรของท่านดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องไร้รอยต่อ

หากสนใจติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม